loader image
ยินดีต้อนรับสู่
ชมรมไอที อันดามัน
info@itandaman.com
Network ZoneNewIT

WAN : 2 WAN (2 Static) to LAN)

488views


คำถาม ต้องการคอนฟิก Mikrotik เพื่อทำ Loadbalance รวมเน็ต ทั้ง 2 WAN
Port1 – wan ( Fix IP : Static ) (ทดสอบเน็ตเข้ามา 10m)
Port2 – wan ( Fix IP : Static ) (ทดสอบเน็ตเข้ามา 10m)
Port5 – Lan (IP : 192.168.10.1/24 , dhcp 100-200)

คำตอบ

 

1. Remove Default Configuration / Reset clear config

1.1 – ติดตั้งโปรแกรม Winbox เรียบร้อยแล้ว

1.2 เข้าโปรแกรม Winbox
– โดยปกติ mikrotik บางรุ่นจะมี default Config มาให้ ซึ่ง IP จะเป็น 192.168.88.1 (ถ้าไม่มีคอนฟิกใดๆจะเป็น 0.0.0.0)
– คลิกเลือกตัวอุปกรณ์ใน list

– เราจะไม่ใช้ default config ให้เลือก Remove Configuration

– หรือทำการ Reset ทั้งหมด โดย
เมนู System > Reset Configuration (เลือก No default Configuration)

กด Yes
(Mikrotik จะรีเซตและ รีบูทตัวเอง 1 รอบ)

1.3 เข้าโปรแกรม Winbox ใหม่อีกรอบ (สังเกตุ IP จะเป็น 0.0.0.0 แสดงว่ารีเซตเรียบร้อย)

2. WAN – Static IP

2.1 ทำการสร้าง IP Address ให้ (wan1)
เมนู IP > Address กด ” + ” เพื่อ Static IP
– Address: ใส่ IP: 10.1.10.254/24 กด OK (ใน Network จะสร้างให้อัตโนมัติตามวงที่กำหนด /24)
– เลือก ether1

2.2 ทำการสร้าง IP Address ให้ (wan2)
เมนู IP > Address กด ” + ” เพื่อ Static IP
– Address: ใส่ IP: 10.2.20.254/24 กด OK (ใน Network จะสร้างให้อัตโนมัติตามวงที่กำหนด /24)
– เลือก ether2

2.3 สร้าง Route (WAN1)
– เมนู IP > Route > Routes กดปุ่ม ” + ”
– Gateway : 10.1.10.1 (ใส่ IP Gateway ของ WAN1)
Check Gateway: ping

– เพิ่มใหม่อีกครั้ง
– Gateway : 10.1.10.1 (ใส่ IP Gateway ของ WAN1)
Check Gateway: ping
Routing mark: wan_1

2.4 สร้าง Route (WAN2)
– เมนู IP > Route > Routes กดปุ่ม ” + ”
– Gateway : 10.2.20.1 (ใส่ IP Gateway ของ WAN2)
Check Gateway: ping

– เพิ่มใหม่อีกครั้ง
– Gateway : 10.2.20.1 (ใส่ IP Gateway ของ WAN2)
Check Gateway: ping
Routing mark: wan_2

2.5 แสดง Route ที่สร้างเสร็จแล้วของทั้ง 2 WAN

2.6 คัดลอกโค้ด

/ip firewall mangle
add action=mark-routing chain=prerouting dst-address-type=!local new-routing-mark=wan_1 passthrough=no per-connection-classifier=both-addresses-and-ports:2/0
add action=mark-routing chain=prerouting dst-address-type=!local new-routing-mark=wan_2 passthrough=no per-connection-classifier=both-addresses-and-ports:2/1

/ip firewall nat
add action=masquerade chain=srcnat dst-address-type=!local out-interface=ether1
add action=masquerade chain=srcnat dst-address-type=!local out-interface=ether2


2.7 เมนู Terminal > ทำการ วางโค้ดที่คัดลอกก่อนหน้า

3. สร้าง Bridge เพื่อสะดวกต่อการแก้ไขหรือเปลี่ยน Interface พร้อมกำหนด DNS ให้ตัวอุปกรณ์

3.1 เมนู Bridge แท็ป Bridge กด ” + ”
– ตั้งชื่อ bridge-lan กด OK

– เลือก Interface ที่ต้องการ ให้เข้ามาอยู่ในกลุ่ม Bridge ที่สร้างไว้แล้ว “bridge-lan”
ตัวอย่าง เลือก port5 เข้ามาให้ก่อน (สามารถเพิ่มหรือเปลี่ยนเป็น interface อื่นๆได้)

3.2 ใส่ DNS Server
-ปกติ Mikrotik จะ dynamic ดึง ip มาให้อัตโนมัติให้อยู่แล้ว แต่ก็สามารถกำหนดเพิ่มเองได้
ตัวอย่างใส่เป็น IP ของ google (8.8.8.8, 8.8.4.4)
-ติ๊กเลือก Allow Remote Requests

4. LAN – (สร้าง Network โดยกำหนด IP : 192.168.10.1/24 , dhcp 100-200)

(Hotspot Setup จะมีการสร้าง NAT, Route, IP, DHCP, Pool ฯลฯ ให้อัตโนมัติ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าการ add เองมาก
หากเราไม่ต้องการ hotspot เราก็เพียง disable หรือลบ hotspot ออกทีหลังได้ โดยค่า config ออกเน็ตอื่นๆ ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ใช้งานออกเน็ตได้ปกติ)

4.1 สร้าง Hotspot Setup
– เมูน IP > Hotspot
-แท็ป Server กดปุ่ม Hotspot Setup แล้วเลือก Interface “bridge-lan” กด Next

– กำหนด IP Network กด Next
(ตัวอย่างเป็น วง 192.168.10.1 sub 255.255.255.0)

– กำหนด rank DHCP ที่แจ้ง กด Next
(ตัวอย่าง แจก 192.168.10.100 – 200)

– Certificate เลือก none กด Next
(ถ้ามีการติดตั้ง Certificate จะทำให้ hotspot รองรับ login ผ่าน http:// ได้ และจะมี List ขึ้นมาให้เลือก)

– กด Next

– DNS Server จะขึ้นให้อัตโนมัติ กด Next

– DNS Name (ปล่อยว่าง) กด Next
(ปกติ hotspot จะแสดงเป็น IP แต่ถ้ากำหนดชื่อในส่วนนี้ ก็จะเป็น NAME แทน)

– Local user hotspot ใช้ default กด Next
(เป็น user ที่ใช้ login เข้า hotspot ปกติจะเป็น admin ไม่มีพาส)

– สร้าง hotspot เสร็จสิ้น กด OK

4.2 ทำการ disable Hotspot ที่สร้าง เพื่อให้ใช้งาน เชื่อมต่อ lan ได้ปกติไม่ต้องมี login hotspot

– หลังจาก diable แล้ว ก็จะขึ้นเป็นสีเทาๆ

TIP : สามารถสร้างบริดจ์อื่นเพิ่ม เช่น
– bridge-lan สำหรับ network ที่เข้าใช้งานเน็ตได้เลยไม่ต้อง login
– bridge-hotspot สำหรับทำ hotspot กำหนดให้ผู้ใช้มีการ login user,pass ก่อนออกเน็ต
โดยสร้างกำหนด limit bandwidth ของแต่ละ user ได้ด้วย
แล้วจึงเลือก Interface ที่ต้องการ ว่าจะให้ port ไหนเป็นอะไรทีหลัง

5. Speed Test – Loadbalance

Wan1 (10m) + Wan2 (10m) = Speed รวมได้ 20m

เครดิต sys2u.online