loader image
ยินดีต้อนรับสู่
ชมรมไอที อันดามัน
info@itandaman.com
NewIT

เต้าเสียบมาตรฐานของประเทศไทย ไม่มีใครเหมือน

715views

เต้าเสียบมาตรฐานของประเทศไทยนั้นมีใช้อยู่ประเทศเดียวโลก นั่นก็คือ #ประเทศไทย นั่นเองครับไม่ใช่ร่วมกับใครครับ โดยที่เป็นมาตรฐานที่คิดขึ้นมา #ใหม่ล่าสุด ในโลกใบนี้ โดยปกติ หัวปลั๊กไฟจะเรียกว่า “Type”

โดยจะมี Type A /Type B ตามลำดับประเทศที่คิดค้น และหัวปลั๊ก มอก. ล่าสุดของไทยนั้นเรียกว่าเป็น Type O ครับ เป็น Type สุดท้ายที่มีบนโลกจนกว่าจะมี Type P แต่จะมีประเทศไหนบนโลกผลิตหัวมาตรฐานปลั๊กขึ้นมาใหม่อีกไหมหนอ ? จนผู้เขียนบทความในต่างประเทศเอง ก็รู้สึกแปลกใจว่า ประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย ทำไมต้องกำหนดมาตรฐานหัวปลั๊กไฟขึ้นมาใหม่ ทำไมไม่ใช้แบบเดิมที่ชาวบ้านเขาคิดขึ้นมาอยู่แล้ว

ปัญหาคือ ด้วยข้อกำหนดของมาตรฐานหัวปลั๊กมาตรฐานตามแบบของประเทศไทย มอก.166-2549 ทำให้แบรนด์ Global (แบรนด์ที่ผลิตสินค้าส่งขายทั่วโลก) ถึงกับกุมขมับว่า ตูต้องผลิตสินค้าเฉพาะเพื่อให้ใช้งานที่ประเทศไทยประเทศเดียวหรือฟะเนี่ย ซึ่งมันเพิ่มไลน์การผลิต เพิ่มต้นทุน และบุคลากร เพราะต้องเปิดแม่พิมพ์ใหม่ (Mold)

ส่วนอีกปัญหาคือเมื่อเราไปต่างประเทศ เราเอาสินค้าที่ได้มาตรฐาน มอก. ไปใช้ที่ต่างประเทศ #เราจะไม่สามารถใช้งานได้ที่ใดบนโลกเลย ถ้าไม่ได้ผ่านตัวแปลง โดยปกติแล้ว ประเทศในบางหมวดนั้นสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น Type A/B ใช้งานร่วมกันได้ Type C E F J L N สามารถใช้งานร่วมกันได้ หรือบางประเทศ ก็ใช้มาตรฐานร่วมกัน เช่น อังกฤษ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลย์เซีย บรูไน ก็สามารถใช้ปลั๊ก Type K ร่วมกันได้ หรือ ออสเตรเลีย และจีนก็ใช้มาตรฐาน i รวมกัน

แต่ประเทศไทยเราไม่ใช่มาตรฐานปลั๊กร่วมกับใครเลย ถึงบอกว่าเป็น Thailand Only! ยังไงหล่ะครับ

อ้างอิง : worldstandards.eu/electricity/plugs-and-sockets/